วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

พระ<wbr>บาท<wbr>สมเด็จ<wbr>พระ<wbr>เจ้า<wbr>อยู่<wbr>หัวกับการ<wbr>อนุรักษ์<wbr>สิ่ง<wbr>แวด<wbr>ล้อม<wbr><wbr>

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่มักจะเกิดควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้า ซึ่งเป็นปัญหาร่วมกันของทุกประเทศ กล่าวคือ การพัฒนายิ่งรุดหน้าปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและภาวะมลพิษก็ยิ่งก่อตัวและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ แต่ไม่ได้มีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสมรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และปัญหาต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมก็เพิ่มขึ้น ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศ จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวิธีการที่จะทำนุบำรุงและปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ทรงเน้นงานการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย



พระราชดำริ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่ หลักการ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" หลักการบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด และ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งมีสาระโดยสรุปดังนี้คือ

๑) ทฤษฎี "น้ำดีไล่น้ำเสีย" ได้ทรงนำหลักการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจางตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "น้ำดีไล่น้ำเสีย" โดยใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก เป็นการใช้น้ำคุณภาพดีมาช่วยบรรเทาน้ำเน่าเสีย ดังพระราชดำรัสเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ในอำเภอธัญบุรี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

"…แต่ ๓,๐๐๐ ไร่นั่นมันอยู่สูง จะนำน้ำโสโครกจากที่นี่ไปที่โน้นต้องสูบไปไม่ไหว แต่ว่าจะทำเป็นบึงใหญ่ที่จะเก็บน้ำได้สำหรับเวลาหน้าน้ำมีน้ำเก็บเอาไว้ หน้าแล้งก็ปล่อยลงมา ส่วนหนึ่งอาจปล่อยลงมาสำหรับล้างกรุงเทพ ได้เจือจางน้ำโสโครกในคลองต่างๆ…" (สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม, ๒๕๓๔: ๓๑-๒)

อีกทั้งได้พระราชทานแนวพระราชดำริโดยรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเข้าไปตามคลองต่างๆ เช่น คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ และคลองบางลำภู เป็นต้น โดยกระแสน้ำจะไหลแผ่กระจายขยายไปตามคลองซอยที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นเมื่อทำการปล่อยน้ำให้ไหลเวียนจากปากคลองไปปลายคลองได้อย่างเหมาะสม ก็ย่อมจะช่วยเจือจางน้ำเน่าเสียได้มากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง (สำนักงาน กปร., ๒๕๔๐: ๑๐๑)

๒) การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่างๆ เพื่อทำเป็นแหล่งบำบัดน้ำเสีย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสีย ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา

๓) การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ ด้วยทรงห่วงใยในปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นในหนองหนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรับน้ำเสียจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร ที่มีสภาพเกินขีดความสามารถในการรองรับของเสีย พระบาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ ทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบการเติมอากาศ ณ บริเวณหนองสนม-หนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างวิธีธรรมชาติกับเทคโนโลยีแบบประหยัด โดยมีกรมประมงร่วมกับกรมชลประทานดำเนินการศึกษาและก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียในบริเวณดังกล่าว โดยมีระบบบำบัดด้วยพืชน้ำซึ่งเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติในพื้นที่ ๘๔.๕ ไร่ และได้มีการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ๒๕๓๙: ๒๒๒)

๔) การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะมลพิษที่มีผลต่อการดำรงชีพของประชาชน อันเนื่องมาจากชุมชนเมืองต่างๆ ยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงทรงให้มีการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวขึ้นในพื้นที่ ๑,๑๓๕ ไร่ โดยเป็นโครงการศึกษาวิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ
 
๕) กังหันน้ำชัยพัฒนา ในปัจจุบัน สภาพมลภาวะทางน้ำมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนเพื่อการบำบัดน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับอุปกรณ์การเติมอากาศ และทรงค้นคิดทฤษฎีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ โดยใช้วิธีทำให้อากาศสามารถละลายลงไปในน้ำเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและการเพาะตัวอย่างรวดเร็วของแบคทีเรียจนมีจำนวนมากพอที่จะทำลายสิ่งสกปรกในน้ำให้หมดสิ้นไปโดยเร็ว ตามแนวทฤษฎีการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ"กังหันน้ำชัยพัฒนา" ซึ่งเป็นรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย ประหยัด เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม และได้มีการนำไปใช้งานทั่วประเทศ (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ, ๒๕๓๙: ๒๑๘-๙)


๖) การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษา ทดลองวิจัยดูว่า จะใช้ปลาบางชนิดกำจัดน้ำเสียได้หรือไม่ ปลาเหล่านี้น่าจะเข้าไปกินสารอินทรีย์ในบริเวณแหล่งน้ำเสีย ซึ่งปรากฎว่าปลาบางสกุลมีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด เหมาะแก่การเลี้ยงในน้ำเสีย และชอบกินสารอินทรีย์ จึงช่วยลดมลภาวะในแหล่งน้ำ วิธีการนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียได้ ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่ง (สำนักงาน กปร., ๒๕๓๑: ๕๒)

ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (The Food and Agriculture Organization : FAO) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณในด้านการพัฒนาการเกษตร (Agricola Medal) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอุทิศพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้ซึ่งประกอบอาชีพเพาะปลูก บำรุงรักษาน้ำ และบำรุงรักษาป่า ซึ่งทรงยึดหลัก "สนับสนุนการพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อความมั่นคงในอนาคต" เป็นหลักปฏิบัติ เพื่อให้ประจักษ์ชัดเจนจากความสำเร็จในด้านการพัฒนา โดยองค์การฯ สดุดีพระองค์ว่า ทรงพระปรีชาสามารถเกี่ยวกับความยุติธรรมของสังคม ซึ่งได้ปรากฏเห็นเป็นตัวอย่างจากนโยบายเรื่องการแบ่งที่ดินทำกินเพื่อเกษตรกรและผู้ทำนุบำรุงรักษาป่า ทรงวิริยะอุตสาหะในเรื่องการกักเก็บน้ำให้เพียงพอเพื่อประกันผลผลิตอาหาร การอนุรักษ์สันปันน้ำและป้องกันการกัดเซาะผิวดิน ทรงสนับสนุนเผยแพร่การเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งรวบรวมแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และขยายพันธุ์สัตว์ให้เจริญเติบโตขึ้น ตลอดจนการบำรุงผิวดิน ทรงมีพระอุตสาหะอันสูงส่งในการสงวนรักษาพันธุ์พืช ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษยชาติในการค้นคว้าเรื่องอาหาร ทั้งนี้ เนื่องจากทรงมีสายพระเนตรอันกว้างไกลในการที่จะทำให้โลกปราศจากความหิวโหย และประชาชนมีอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีวิต

“การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

“การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” 
ความหมายสิ่งแวดล้อม 
รูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏสิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ 


 
สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร

สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นในอดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้
กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ
·         หาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา 

    
ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล



คำว่าสิ่งแวดล้อม ถ้าให้แต่ละคนนึก บางคนก็อาจจะนึกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางคนอาจจะนึกถึงน้ำในแม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย น้ำขุ่นข้นด้วยโคลนตมและขยะมากมาย จะใช้อาบหรือใช้ดื่มกินเหมือนแต่ก่อนนั้นไม่ได้ บางคนอาจจะบอกว่า ปัจจุบันดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นเสียเพาะปลูกพืชก็ไม่เจริญเติบโต บางคนอาจจะนึกถึงอากาศที่หายใจในชุมชนที่แออัด ไม่สดชื่นเหมือนในชนบทในที่ที่มีทุ่งนา ป่า เขาโล่งกว้าง ที่มีผู้คนอยู่กันไม่มากนัก เพราะกลิ่นที่ไม่สดชื่นนั้น มีกลิ่นเหม็นของขยะที่มนุษย์นำมากองสุมกันไว้ และยังมีกลิ่นเหม็นจากควันรถยนต์และจักรยานยนต์ นอกจากนั้นก็มีเขม่าและควันไฟจากปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากมาย เหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา

คงยังจำกันได้ถึงน้ำท่วมและลมพายุในภาคใต้ ซึ่งทำให้ผู้คนตลอดจนวัว ควาย สัตว์เลี้ยง ล้มหายตายจากเป็นจำนวนมาก แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยพลิกคว่ำ และเรือกสวนไร่นาล่มเสียหาย ครั้น พ.ศ. 2533 น้ำไหลบ่ามาท่วมภาคกลางเป็นเวลานาน ทำลายบ้านเรือน ถนนหนทาง สะพาน และพืชผัก ตลอดจนข้าวปลาอาหาร น้ำมากมายมหาศาลนี้มาจากไหน ทำไมจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และลมพายุแรงที่ไม่เคยพบเคยเห็นอีกเล่า หรือเป็นเพราะเราช่วยกันตัดไม้ทำลายป่า และทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษคนละไม้คนละมือ คำตอบก็ถือว่า ป่าไม้ที่หายไป และพิษภัยในสิ่งแวดล้อมเริ่มแสดงผล เป็นปัญหาในวงกว้างเกินกว่าที่เคยคิดกันไว้ ไกลจากตัวเราออกไป กระทบต่อเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโลก แล้วย้อนกลับมากระทบตัวเราด้วยในที่สุด



มนุษย์เราช่วยกันสร้างมลพิษขึ้นมา จนกระทั่งทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้เสียไปใช่หรือไม่ ถ้าใช่ แล้วใครจะเป็นผู้แก้ไขสภาพแวดล้อมที่เสียไป ให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นได้ คำตอบที่ทำได้และทำง่ายที่สุดก็คือ ทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษลดลงได้มากในวันข้างหน้า ถ้าทุกคนเห็นด้วย พร้อมและเต็มใจที่จะช่วยกันลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม จงปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. ช่วยกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในบริเวณบ้าน โรงเรียน สวนสาธารณะ และ ตามถนนหนทางทั่วไป

2. ทิ้งขยะให้เป็นที่ คือทิ้งลงในถังขยะ ไม่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง และจงกำจัดขยะให้ถูก วิธี

3. ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด อย่าเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ หรือใช้เกินจำเป็นเพราะมีผลกระทบต่อการ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับบางประการมาสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้เช่นกัน

4. เลือกใช้ของอย่างประหยัด เพราะนอกจากต้องซื้อหามาแล้ว ในการผลิตยังใช้พลังงาน อีกไม่น้อย เมื่อทิ้งขว้างก็กลายเป็นของเสีย เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนทุกคราวไป ดังนั้นขวดแก้วใส่น้ำหวานได้หลายต่อหลายครั้งจึงดีกว่ากระป๋อง เพราะเราทิ้งกระป๋องเป็นขยะทุกครั้ง แต่เราเอาขวดมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้

5. ชักชวนกันใช้ของธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดีกว่าของทำเทียมขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ถุง พลาสติก กล่องโฟมเก็บความร้อนหรือความเย็น เพราะช่วยลดภัยในสิ่งแวดล้อมในระหว่างการผลิตและเมื่อทิ้งเป็นขยะ

6. ควบคุมการผลิตและการใช้สารมลพิษซึ่งมีผลกว้างไกล เช่น น้ำยาบางชนิดในเครื่องทำ ความเย็น น้ำยาดับเพลิงแบบใหม่ (ฮาลอน) เป็นต้น สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ คน และสารต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ได้แก่ พลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานความร้อน แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเสียหรือเป็นพิษ หมายความว่า สภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกันว่า ดินเสีย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ และแสง เสียงเป็นพิษ




สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเอง เป็นต้นว่า

1. มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่ากันมากขึ้น

2. มนุษย์เผาเชื้อเพลิงตามบ้านเรือน และตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น

3. มนุษย์ผลิตสารสังเคราะห์บางอย่างที่ไม่สลายตัว และสลายตัวยากมากขึ้น เช่น พลาสติก โฟม จึงทำให้เกิดขยะเหล่านี้มากขึ้น ส่วนสารบางอย่างที่เป็นก๊าซ เช่น ฟรีออน ซึ่งใช้ช่วยในการฉีดสเปรย์ และใช้ในเครื่องทำความเย็น ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศฟุ้งกระจายทั่วไป ซึ่งจะไปทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ และมีผลกระทบทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

4. มนุษย์สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ใช้ ไฟเบอร์กลาสแทนไม้ ใช้ฟรีออนแทนแอมโมเนียเหลวในตู้เย็น และใช้ผงซักฟอกแทนสบู่ เป็นต้น เมื่อใช้แล้วมีสิ่งตกค้างเป็นมลพิษอยู่ในอากาศ ในน้ำ และในดิน ทำให้เกิดผลเสียหายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด

5. มนุษย์สร้างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่ให้ความร้อน แสง เสียง ที่ทำให้เกิด อันตรายต่อมนุษย์ได้มากขึ้น

6. มนุษย์สร้างยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง เช่น จักรยานยนต์ รถยนต์ และยานอวกาศ เพื่อออกไปสำรวจอวกาศภายนอกโลกมากขึ้น ก๊าซที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจนและคาร์บอนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศ






สารมลพิษ


หมายถึงสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ และในอากาศ มีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ พืชและสัตว์ ถ้าแยกประเภทสารมลพิษออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ

1. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจน และคลอรีน เป็นต้น

2. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์

3. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น เขม่า ควัน สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก โฟม และไฟเบอร์ เป็นต้น ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไปสภาวะที่เป็นพิษและที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์


1. อากาศที่หายใจไม่บริสุทธิ์ มีเขม่า ควัน ปะปนมา ตลอดจนมีกลิ่นเหม็น และมีก๊าซที่ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์

2. น้ำท่วมไร่นา บ้านเรือน ถนน เสียหายโดยฉับพลัน

3. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูง และไหลเข้ามาปนกับน้ำจืดใน แม่น้ำลำคลองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนและพืชที่ปลูกไว้ริมน้ำ

4. ฝนเป็นกรด ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำลายดิน ทำให้ปลูกพืชไม่งอกงาม

5. โลกจะร้อนขึ้น

6. ฤดูกาลจะแปรปรวน

7. ชั้นโอโซนถูกทำลาย และไม่ช่วยกรองรังสีอันตราย ทำให้ตาเป็นต้อ และผิวหนังเป็น มะเร็งการเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม


1. มลพิษที่เป็นก๊าซ ของเหลว และของแข็ง จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ จากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิง จากการตัดไม้ทำลายป่า และจากการปนเปื้อนแทรกซึมของสารสังเคราะห์บางชนิดที่มนุษย์เราผลิตใช้กันมากขึ้น

2. มลพิษที่เป็นพลังงาน เช่น พลังงานความร้อนที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องมาจาก

การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ การสร้างยานพาหนะที่มีการเผาไหม้สูง หรือมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ส่วนมลพิษที่เป็นพลังงานชนิดอื่น เช่น แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ก็เกิดจากการที่มนุษย์ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไปทำลายประสาทหู ตา และประสาทสัมผัสอื่นของมนุษย์มากขึ้น


การควบคุมและการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษ








เมื่อทราบสาเหตุ และการเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมแล้ว เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าทุกคนทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน เช่น
1. ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ไม่ตัดไม้ทำลายป่าโดยไม่จำเป็น
2. ดูแลรถยนต์ไม่ให้มีควันดำ และหมั่นปรับเครื่องยนต์เสมอ 3. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพราะมีส่วนช่วยลดเขม่าควัน ก๊าซไอเสียต่าง ๆ ตลอดจนกรด จึงช่วยป้องกันและลดฝนกรด ตลอดจนลดก๊าซซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น
4. เลือกใช้ของอย่างประหยัด โดยคิดถึงประโยชน์ระยะยาว หากใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย่อมดีกว่าใช้แล้วทิ้งทุกครั้ง เช่น ขวดแก้วใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่กระป๋องใช้ได้ครั้งเดียว จึงต้องใช้พลังงานผลิตอยู่ร่ำไป
5. ใช้วัสดุธรรมชาติเช่น ใบตอง ดีกว่าวัสดุสังเคราะห์ซึ่งได้แก่ ถุงพลาสติก กล่องโฟม เก็บรักษาความร้อนหรือความเย็น


นอกจากนี้อาจจะมีวิธีอื่น ๆ อีกที่สามารถแก้ไข ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษ และ สารมลพิษได้ หากเราทราบสาเหตุ ตัวต้นเหตุ และการเกิดที่แน่นอนและชัดเจน

ดวงอาทิตย์ศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาลเป็นต้นกำเนิดของพลังงานอันมหาศาล ได้ส่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามายังโลกของเรา แต่เนื่องจากมีบรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้น และมีองค์ประกอบต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเมฆและไอน้ำ รังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation) ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่จะผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นผิวโลกได้

รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นร้อยละ 95-99 ซึ่งได้แก่ รังสีคอสมิก รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ ส่วนรังสีคลื่นยาวได้แก่ คลื่นวิทยุ รังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นเป็นรังสีที่มองเห็นได้ (visible rays) ร้อยละ 45 รังสีอินฟราเรด (infrared) ร้อยละ 46 และรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ร้อยละ 9

การที่บรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้นนั้น มีประโยชน์ต่อการดำรงชีพของสิ่งที่มีชีวิตเป็นอันมาก เช่น บรรยากาศชั้นบน ช่วยกรองรังสีหลายอย่างที่เป็นอันตราย เช่น รังสีเอกซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลต ส่วนบรรยากาศชั้นล่างจะดูดซึมรังสีอินฟราเรดซึ่งโลกสะท้อนกลับ นอกจากนั้นยังช่วยเก็บรักษาความร้อนที่ผิวโลกไว้ ไม่เช่นนั้นอากาศที่ผิวโลกจะเยือกเย็นถึง -40o ซ. โดยเฉลี่ยแทนที่จะเป็น 15o ซ.&nbsp; ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อโลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ โลกจะแผ่รังสีสะท้อนกลับสู่บรรยากาศเรียกว่า รังสีโลก (terrestrial radiation) ความยาวคลื่นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ อุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลก 150 ซ. รังสีจากโลกเป็นรังสีอินฟราเรดในช่วงคลื่นยาว ซึ่งแตกต่างจากรังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสั้น ตามปกติแล้ว ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะมีปริมาณพอเหมาะและสามารถดูดซึมพลังงานส่วนนี้ไว้ ทำให้โลกเก็บความร้อนไว้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืช



สารมลพิษและบทบาทต่อความร้อนของโลก สารมลพิษส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นล่างคือ ชั้นโทรโพสเฟียร์ เช่น มีเทน (CH4) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons) และโอโซน เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและถือเป็นสารมลพิษ โดยทั่วไปไม่ควรนำไปปะปนกับก๊าซโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ เพราะบรรยากาศในสองชั้นนี้มักไม่ใคร่ผสมปนเปกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีชั้นโทรโพพอสคั่นอยู่ สารมลพิษอื่น ๆ ก็เช่นกัน มักไม่ใคร่มีโอกาสขึ้นไปสูงถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ ยกเว้นแต่เมื่อ
ก. เกิดลมพายุรุนแรงในบรรยากาศชั้นบน
ข. เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับสารมลพิษอื่น ๆ ได้ง่าย จึงคงตัวอยู่นานและลอยขึ้นสูงเป็นลำดับ เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไนทรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น
ค. เกิดมลพิษในชั้นสตราโทสเฟียร์ เช่น เครื่องบินคอนคอร์ดของอังกฤษและฝรั่งเศส และเครื่องบิน Tu-144 ของสหภาพโซเวียต มีเพดานบินอยู่ที่ระดับความสูง 17 กิโลเมตร โบอิ้ง 2707 ของสหรัฐอเมริกามีเพดานบินที่ระดับ 20 กิโลเมตร เป็นต้น จึงเกิดออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรเจนออกไซด์ ฯลฯ
เมื่อมีก๊าซไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) และโอโซน (O3) ในบรรยากาศชั้นสูง อาจมีปฏิกิริยาจนเกิดไนทรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซนี้สามารถเก็บกักความร้อนไว้ได้เช่นเดียวกันกับมีเทนและก๊าซอื่น ๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
สารมลพิษบางชนิดทำให้โลกร้อนขึ้น แต่มีบทบาทแตกต่างกัน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ทำลายโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ จึงทำให้โลกรับพลังงานความร้อนโดยตรง จากดวงอาทิตย์มากขึ้น
2. มีมลพิษในบรรยากาศชั้นล่างที่หุ้มห่อผิวโลกมากขึ้นกว่าปกติ สารมลพิษเหล่านี้
จะเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อนไว้มากกว่าปกติเช่นกัน



การทำลายโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์


โอโซนถูกทำลายได้ด้วยสารประกอบ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คลอรีน ออกไซด์ของไฮโดรเจน และออกไซด์ของไนโตรเจน

สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเป็นสารประกอบของคาร์บอน ฟลูออไรด์ และคลอรีน คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (CCl4) คลอโรฟอร์ม (CHCL3) และเมธิลคลอโรฟอร์ม (CHCl3) ก็มีคลอรีนเช่นกัน สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือที่เรียกว่าฟรีออน ส่วนใหญ่ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังใช้เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องฉีดสเปรย์ต่าง ๆ ใช้เป็นสารทำความสะอาดชั้นดี หรือใช้สารนั้นเป่าให้เกิดฟองในเนื้อของโฟมที่ใช้ทำกล่องบรรจุอาหารต่าง ๆ เป็นต้น

เมื่อก๊าซเฉื่อยกลุ่มนี้ลอยขึ้นไปถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตจะทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น อะตอมคลอรีนแตกตัวออกมา จากนั้นอะตอมนี้จึงทำปฏิกิริยากับโอโซนจนเกิดคลอรีนมอนอกไซด์ (chlorinemonoxide, ClO) หากแต่มิได้หยุดยั้งเพียงแค่นั้นกลับปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนอื่นจนเกิดก๊าซนี้ขึ้นคงเหลืออะตอมคลอรีนไว้ให้ใช้ตั้งต้นใหม่และทำงานต่อไปอีกนับหมื่นครั้ง ประกอบกับเป็นสารซึ่งมีอายุอยู่ในบรรยากาศได้ 75-110 ปี จึงทำลายก๊าซโอโซนได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันนาน ดังที่ได้พบหลักฐานของการทำลายชั้นโอโซนนี้ที่บริเวณขั้วโลกได้ ช่องว่างในชั้นโอโซน (ozone holes) ขยายตัวกว้างขึ้นทุกปี พร้อมกับตรวจพบคลอรีนมอนอกไซด์

ออกไซด์ของไฮโดรเจน และออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซนนั้น อาจเกิดได้ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ใบไม้ ซากพืชและสัตว์ย่อมเน่าเปื่อยและผุพังไปตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซมีเทน และก๊าซไนทรัสออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น นอกจากนี้ก๊าซมีเทนยังกลายเป็นออกไซด์ของไฮโดรเจนต่อไปได้ ก๊าซเหล่านี้ทำลายชั้นโอโซนทั้งสิ้น หากสามารถขึ้นถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ได้


มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน

โลกสะท้อนพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกสู่บรรยากาศในรูปของรังสีอินฟราเรด (คลื่นยาว) ตามปกติไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่อย่างใกล้ชิด จะดูดซึมรังสีโลกไว้

การเก็บกักความร้อนของโลกไว้นี้เปรียบเทียบได้กับ ปรากฎการณ์ในเรือนต้นไม้ ของประเทศทางตะวันตก (green house effect) ซึ่งเป็นอาคารที่กรุด้วยกระจกและเก็บงำความอบอุ่นไว้ให้เพียงพอแก่การปลูกพืชในฤดูหนาว เพราะแสงแดดสามารถส่องผ่านกระจกให้พืชเจริญเติบโตได้เมื่อเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำที่พืชคายออกมาจากการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ถูกกักเก็บไว้ในเรือน จึงทำให้ความร้อนในอาคารนี้สูงกว่าภายนอก

แต่การตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนการเร่งรัดใช้พลังงานอย่างกว้างขวางในการพัฒนาประเทศทำให้เกิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดหรือมีสารมลพิษต่าง ๆ เช่น โอโซน มีเทน ไนทรัสออกไซด์ แอมโมเนีย และฟรีออน ก๊าซเหล่านี้ต่างก็มีคุณสมบัติในการดูดซึมรังสีคล้ายกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงรวมเรียกว่า ก๊าซเรือนต้นไม้ (green house gases)

ความร้อนที่เก็บกักเอาไว้เป็นผลมาจากไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเมฆถึงร้อยละ 90 คงเหลือประมาณร้อยละ 10 เป็นส่วนของความร้อนที่เก็บกักโดยก๊าซโอโซน มีเทน และ ไนทรัสออกไซด์เป็นหลัก



ผลกระทบเมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย




เมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง 2 กรณี คือ

1. พลังงานความร้อนบนพื้นโลกมากขึ้น

2. รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่นซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากขึ้น


จากกรณีทั้งสองดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศได้หลายอย่าง เช่น

1. ความร้อนอาจจะทำให้น้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกได้ละลายมากขึ้น

2. ความร้อนจะทำให้น้ำในมหาสมุทรขยายตัว ทำให้เกิดความแปรปรวนทางน้ำ

3. จากการรับรังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มขึ้นจึงทำให้พืชชั้นต่ำ เช่น แพลงก์ตอน สาหร่าย ไดอะตอม ยูกลีนอยด์เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ได้ ส่วนใบพืชชั้นสูงจะมีการสังเคราะห์แสงลดลง เพราะเซลล์คลุมรอบปากใบ (guard cell) ได้รับอันตรายจากแสง จะปิดปากใบจนวัตถุดิบไม่สามารถผ่านเข้าไปในใบได้เช่นเดิม จึงเป็นเหตุทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง

4. รังสีอัลตราไวโอเลต จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ หรือเกิดโรคมะเร็งขึ้นที่เปลือก ตาและอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น แกะและม้า ถึงแม้จะมีขนห่อหุ้มร่างกายซึ่งจะช่วยลดอันตรายลงได้ก็ตามแต่ในอวัยวะซึ่งขาดเม็ดสี (melanin) เช่น เปลือกตาและอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตต่อเนื่องในระยะยาวก็อาจทำให้ตาเปื่อย หรือเกิดโรคมะเร็งที่ตาและอวัยวะสืบพันธุ์ได้

5. สำหรับมนุษย์นั้น ได้ใช้รังสีอัตราไวโอเลตเมื่ออยู่พอควรในการเปลี่ยนสารที่ผิวหนังให้ เป็นวิตามินดีสาม ซึ่งป้องกันโรคกระดูกอ่อนและฟันผุ แต่ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากไป เช่น ผู้ที่อาบแดดเป็นประจำ หรือชาวไร่ชาวนาที่ต้องตากแดดเป็นประจำ จะทำให้มีผิวกร้านหนาเพราะเซลล์แบ่งแยกตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้นผิวจะมีรอยย่นสีคล้ำหรือจาง ทำให้ดูแก่เกินวัยและในที่สุดอาจเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง คนผิวคล้ำเช่นชาวเอเซีย และชาวแอฟริกามีเม็ดสีอยู่ในผิวมากสามารถสะท้อนและดูดซึมรังสีส่วนเกินได้ดีกว่าคนผิวขาว ดังนั้นจึงเกิดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตต่อคนผิวขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ

สำหรับดวงตาที่รับแสงแดดกล้าเกินไปในระยะยาว จะเกิดเนื้อติ่งที่หัวตา และเป็นมะเร็งที่เยื่อบุชั้นนอกของนัยน์ตาหรือเป็นต้อกระจกได้




ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น




โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme-UNEP) ได้รายงานเกี่ยวกับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศดังนี้
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 270-290 ส่วนในล้านส่วน
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 345-350 ส่วนในล้านส่วน
ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 คาดว่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้วิเคราะห์และคาดว่าในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2537) อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1.5-3o ซ.&nbsp; และจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้
1. ระดับน้ำทะเลอาจจะขึ้นสูงอีก 40-120 เซนติเมตร ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่ชายทะเล และ กิจกรรมต่าง ๆ ในบริเวณนั้น เช่น การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในป่าชายเลน การท่องเที่ยว เป็นต้น ในระหว่างที่โลกมีวิวัฒนาการ น้ำทะเลเคยขึ้นลงเกินกว่า 100 เมตรมาแล้ว และในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 8-20 เซนติเมตร เชื่อกันว่าเป็นผลจากที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศถึงอัตราร้อยละ 20 และการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เพราะน้ำทะเลขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน และน้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายเป็นน้ำ การที่น้ำเค็มรุกล้าเข้าสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ มากขึ้น ย่อมมีผลทำให้ระบบนิเวศปรวนแปร และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้หลายประการ


2. ทำให้ภูมิอากาศเกิดความปรวนแปร จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า พายุไซโคลนซึ่งเคย เกิดขึ้น 3.1 ครั้ง ในคาบ 10 ปี คือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) และได้เพิ่มเป็น 15 ครั้งในปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ดังนั้นจึงเกรงว่าถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น จะทำให้ลมมรสุมในคาบสมุทร >เอเซียแปซิฟิกเพิ่มกำลังแรงมากขึ้น และจะพัดเลยขึ้นเหนือไป ทำให้ฝนไปตกในท้องถิ่นกันดาร และในทางตรงกันข้ามจะทำให้เกิดความแห้งแล้งในที่ที่มีฝนตกชุก ตลอดจนจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นในบางแห่ง บางแห่งจะเกิดปัญหาน้ำเซาะดินพังทลายลง และตะกอนซึ่งมากับน้ำขุ่นตามทางน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินด้วย


3. แหล่งน้ำใช้ในการชลประทานจะผันแปรไปด้วย จากการคาดคะเนหากว่าอุณหภูมิของ โลกเพิ่ม 1.5-4.50 ซ. ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7-15 ทั่วโลก แต่มิได้กระจายไปทุกแห่งอย่างทั่วถึง ในแหล่งที่มีน้ำมากและที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นนั้น พืชก็อาจจะเร่งการสังเคราะห์แสงขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำมากขึ้นเป็นเงาตามตัวและจำเป็นต้องมีการจัดสรรน้ำเพื่อการชลประทานเป็นพิเศษกว่าเดิมด้วย


4. ต้องพัฒนาและปรับปรุงการเกษตรกรรม ให้เหมาะสมกับกับการเปลี่ยนแปลงทาง สภาพภูมิอากาศ และน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งอาจจะต้องแสวงหาพืชพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนการเพาะปลูกและการจำหน่ายที่มีคุณภาพ มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในสภาวะปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


5. แหล่งพลังงานได้รับผลกระทบ เนื่องจากการแปรปรวนของภูมิอากาศ เช่น การเกิดลม มรสุมต่าง ๆ อย่างรุนแรง เคยทำให้เรือขุดเจาะน้ำมันคว่ำ เกิดการเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนขัดขวางการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ พลังลม และพลังนิวเคลียร์ ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนทางภูมิอากาศด้วยเช่นกัน

การควบคุมมลพิษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น


การควบคุมมลพิษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น อาจทำได้ดังนี้
1. ควบคุมการใช้เชื้อเพลิง เพื่อลดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของคาร์บอน

ไนโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงใช้ตามบ้านเรือน ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ตาม

2. ลดการผลิตสารสังเคราะห์บางตัว พร้อมทั้งหาสารทดแทนตัวอื่น เช่น ในการประชุมที่ กรุงเวียนนา ได้มีข้อตกลงที่จะควบคุมการผลิตและการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนทั่วโลก เพราะสารนี้จะไม่สลายก๊าซโอโซน มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น

3. รณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อจะได้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า และใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อลดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม

4. รณรงค์ให้มีการปลูกป่าทดแทน และไม่ตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติ เพราะต้นไม้ใน ป่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดมลพิษ เนื่องจากพืชช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดไม้ทำลายป่าจึงบั่นทอนความสามารถในการลดมลพิษของธรรมชาติ และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศได้ต่อเนื่องอีกนานัปการ






ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ

พลังงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ เพราะต้องใช้ในการผลิตสินค้าให้ได้มากเพื่อให้ต้นทุนต่ำและทำกำไรสูงสุด นอกจากการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานเพื่อผลิตสินค้าแล้ว การเกษตรกรรมแผนใหม่ยังหันมาพึ่งพาเครื่องทุ่นแรง เช่น รถแทรกเตอร์ ใช้สารเคมีต่าง ๆ มากกว่าเดิม และเพิ่มเติมกรรมวิธีเก็บรักษาถนอมอาหาร ตลอดจนบรรจุหีบห่อเพื่อส่งไปขายในตลาดต่างประเทศ ดังเช่นในกรณีประเทศไทยส่งมะม่วงไปฮ่องกง เป็นต้น จึงเป็นอุตสาหกรรมเกษตรกลาย ๆ และอาศัยพลังงานมากยิ่งขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงต้องเสาะแสวงหาเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานให้เพียงพอ และการก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนสืบเนื่องจาก

ก. การขนส่งน้ำมันดิบ

ข. การผลิตกระแสไฟฟ้า

ค. การทำสงคราม

การขนส่งน้ำมันดิบ


เมื่อเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการขนส่งน้ำมันดิบ เชื้อเพลิงนับ ล้าน ๆ แกลลอนไหลทะลักลงสู่พื้นน้ำ ในปี พ.ศ. 2521 เรืออโมโคคาดิซ (Amoco Cadiz) ปล่อยน้ำมัน 68 ล้านแกลลอนลงแถบชายฝั่งทะเลของฝรั่งเศส อีก 11 ปีต่อมา เรือขนส่งน้ำมันดิบ เอกซอน วาลเดซ (Exxon Valdez) แล่นออกนอกเส้นทางเดินเรือจนเกยหินโสโครก ระบายน้ำมัน 11 ล้านแกลลอนลงอ่าวในมลรัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา น้ำมันบางส่วนลอยแผ่กระจายปกคลุมผิวหน้า แต่บางส่วนละลายหรือจมลงสู่ท้องน้ำ ร้อยละ 25 ของปริมาณทั้งหมดระเหยเป็นไอ แสงแดดช่วยทำให้ร้อน น้ำมันจึงระเหยเร็วขึ้น และอาจเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องต่าง ๆ คลื่นลมจะพัดปั่นฝ้าน้ำมันให้เข้ากับน้ำจนฟูเป็นฟองฟอด ในชั้นนี้จะใช้แพลูกบวบหรือทุ่นกวาดรวบรวมหรือกระจายออกด้วยผงซักฟอกได้ยาก แต่เมื่อมีเศษเล็กเศษน้อยเข้าปะปนฟอง น้ำมันจะจมลงสู่พื้นแล้วคงตัวเช่นนั้นอยู่นานนับปี ส่วนที่เหลือจับเข้าเป็นก้อน (tar balls) ถ้าไม่จมลงกระแสลมจะพัดพาเข้าฝั่ง คาดว่าในรัฐอลาสก้า น้ำมันดิบจากเรือเอกซอน วาลเดซ ทำความเสียหายให้แก่ชายฝั่งทะเลยาว 1,200 ไมล์ นกตาย 100,000 ตัว รวมทั้งนกอินทรีที่หาได้ยาก 150 ตัว และนากทะเลไม่น้อยกว่า 1,000 ตัว ทำให้อุตสาหกรรมประมง โดยเฉพาะปลาแซลมอนตกอยู่ในภาวะล่อแหลม ในอ่าวเปอร์เซียนั้น น้ำมันดิบอาจมีผลต่อป่าชายเลนอย่างกว้างขวาง คือ ทำลายบึงหญ้าสำหรับนก ตลอดจนแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้ง และแหล่งประมงของประเทศซาอุดิอาระเบีย มีรายงานว่านกทะเลรับพิษภัยและตายไปหลายพันตัว ความเสียหายเหล่านี้นับว่ารุนแรงมากกว่าสถานที่อื่นเพราะน้ำในอ่าวตื้นเพียง 110 ฟุต โดยเฉลี่ย และกระแสน้ำหมุนเวียนอยู่ในเวิ้งจำกัดนั้นถึง 200 ปี ประเทศต่าง ๆ ใช้น้ำทะเลหล่อเย็นและทำเป็นน้ำจืด คราบน้ำมันอาจทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์เหล่านี้เสียหายได้


การผลิตกระแสไฟฟ้า

การผลิตกระแสไฟฟ้านั้นหลายประเทศพึ่งพาพลังงานปรมาณูเพื่อการพัฒนา เมื่อโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลในสหภาพโซเซตเกิดระเบิดอย่างรุนแรงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 นั้น ถือกันว่าเป็นอุบัติภัยร้ายแรงที่สุด แรงระเบิดและความร้อนขับมลพิษให้พวบพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสูงถึงห้ากิโลเมตร สารมลพิษเหล่านี้ ได้แก่ ยูเรเนียมออกไซด์ ซีเซียม 137 และไอโอดีน 131 เป็นต้น อีกสิบวันต่อมากลุ่มเมฆหมอกเคลื่อนตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วย้อนลงทางทิศใต้และทิศตะวันออกโปรยสารกัมมันตรังสีลงประเทศสวีเดน เดนมาร์ก นอรเว ฟินแลนด์จนถึงกรีซ ถึงแม้มีผู้เสียชีวิตทันทีเพียง 31 ราย แต่ได้ประมาณการไว้ว่าภายในสามสิบปีข้างหน้าในรอบรัศมีชั้นใน 30 กิโลเมตร ประชาชนจำนวน 100-200 คน จะตายด้วยโรคมะเร็ง เลยอาณาบริเวณชั้นในนี้ออกไปเป็นภาคตะวันออกของรัสเซียและทวีปยุโรปอาจจะมีผู้ล้มป่วยจนถึงแก่ชีวิตอีก 5,000-75,000 ราย



ทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ย่อมได้รับกัมมันตรังสี สารมลพิษผ่านนมวัวในรูปไอโอดีน 131 เข้าสู่เด็ก ภายในสองสามวันต่อมาจึงตรวจพบรังสีเกินขนาดในต่อมไทรอยด์ ดังนั้นร่างกายจึงควบคุมการเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงาน (หรือระบบเมตาโบลิซึม) ไม่ได้ดีเท่าที่ควร ไขกระดูกเป็นส่วนสร้างเม็ดเลือด เมื่อรังสีเกมมาทำลายส่วนสำคัญนี้ระบบเลือดจึงปกติ โดยทั่วไปแล้วรังสีสามารถทำให้เกิดการกลายพันธุ์ ทำลายโครโมโซม ตลอดจนภูมิต้านทานโรค


พืชผลและเรือกสวนไร่นาโดยรอบถูกทอดทิ้งเพราะมีรังสีปนเปื้อนเนื้อสัตว์ นม เนย และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากการเลี้ยงปศุสัตว์ก็เช่นกันในน้ำมีกัมมันตภาพรังสีเกินขนาด ไม่เว้นแม้แต่น้ำบาดาล ดินและอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิต พื้นที่นั้นจึงรกร้างตราบจนคนและธรรมชาติได้ร่วมกันฟื้นฟูบูรณะสภาพให้กลับดีได้อีกครั้งหนึ่งในอนาคต


การทำสงคราม

เมื่อกองทัพอิรักพยายามรุกรานและเผาทำลายบ่อน้ำมันทั่วประเทศคูเวตใน พ.ศ. 2534 ได้เกิดเปลวไฟลุกโชติช่วงเหนือปากบ่อ 600 บ่อ แพร่กระจายควันและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ ในควันดำมีเขน่าและสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง สารทำให้กลายพันธุ์หรือสารทำให้ตัวอ่อนในครรภ์เกิดผิดปกติ ชาวคูเวตและบาห์เรนจึงล้มป่วยเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเด็ก คนชราและผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการของโรคบางโรค เช่น โรคหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง โรคเกี่ยวกับหลอดลมและระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ เป็นต้น ลมได้พัดพาสารมลพิษไปถึงประเทศปากีสถาน คาดว่าอาจเกิดอาการผิดปกติในชนชาติตามทางผ่านเช่นกัน

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์อาจทำให้เกิดฝนกรด ถ้าฝุ่นในอินเดียไม่สามารถทำให้กลายเป็นกลางได้ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีอันตรายต่อคนและสัตว์ในทันทีทันใดและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้โลกร้อนขึ้น ควันดำมืดบดบังแสงแดดทำให้พื้นที่นั้นเย็นลงกว่าที่อื่น 110 ซ. และกลางวันมืดเหมือนกลางคืน ตามปกติแรงดันใต้ดินขับก๊าซและเชื้อเพลิงจำนวนมหาศาลขึ้นมาไม่ขาดสาย เพลิงจึงย่อมลุกโพลงอยู่ได้นานนับปี และดับลงยาก ก่อปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว ในสงครามอ่าวเปอร์เซียนี้ทหารอิรักได้ระบายน้ำมันดิบประมาณ 18-108 ล้านแกลลอนจากโรงกลั่นและคลังน้ำมันต่าง ๆ ของประเทศคูเวตลงทะเล

การควบคุมปัญหา

1. เตรียมมาตรการฉุกเฉินเพื่อควบคุมปัญหาได้ทันท่วงที หากปล่อยปละละเลยจะเกิด ความสูญเสียเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

2. ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความชำนาญการสูงจึงสามารถควบคุมป้องกันวินาศภัยและอุบัติภัย ต่าง ๆ ได้ จึงต้องมีการฝึกฝนเป็นประจำ

3. การป้องกันอุบัติภัยควรเป็นแนวทางที่ดีที่สุด จึงต้องมีกฎหมายควบคุมป้องกันมิให้เกิด ความบกพร่อง และครอบคลุมถึงการชดเชยค่าเสียหายทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว


20 อันดับภัยธรรมชาติ..........ที่ฆ่ามนุษย์มากที่สุด

อะไรบ้าง...ตามไปดู

อันดับที่ 1
ปีที่เกิด : 1931
สถานที่ : แม่น้ำแยงซี, แม่น้ำฮวงโห
ประเภทภัยธรรมชาติ : น้ำท่วม
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 2,000,000-4,000,000

อันดับที่ 2
ปีที่เกิด : 1887
สถานที่ : แม่น้ำฮวงโห
ประเภทภัยธรรมชาติ : น้ำท่วม
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 900,000-2,000,000

อันดับที่ 3
ปีที่เกิด : 1201
สถานที่ : ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 1,100,000

อันดับที่ 4
ปีที่เกิด : 1970
สถานที่ : ปากแม่น้ำคงคา
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไซโคลน
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 500,000-1,000,000

อันดับที่ 5ปีที่เกิด : 1556
สถานที่ : มณฑลซานซี สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 830,000

อันดับที่ 6
ปีที่เกิด : 1976
สถานที่ : เมืองถังซาน มณฑลเหอเป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 242,000-655,000

อันดับที่ 7
ปีที่เกิด : 1839
สถานที่ : เขตโคธาวารีตะวันออก รัฐอันตรประเทศ อินเดีย
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไซโคลน
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 300,000

อันดับที่ 8
ปีที่เกิด : 1881
สถานที่ : เมืองไฮฟอง เวียดนาม
ประเภท ภัยธรรมชาติ : พายุไต้ฝุ่น
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 300,000

อันดับที่ 9
ปีที่เกิด : 1642
สถานที่ : เมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : น้ำท่วม
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 300,000

อันดับที่ 10
ปีที่เกิด : 2004
สถานที่ : มหาสมุทรอินเดีย
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว, คลื่นสึนามิ
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 225,000-275,000

อันดับที่ 11
ปีที่เกิด : 526
สถานที่ : เมืองโบราณแอนติโอก ตุรกี
ประเภท ภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 250,000

อันดับที่ 12
ปีที่เกิด : 1975
สถานที่ : เขื่อนปันเฉียว เมืองจูหม่าเตี้ยน มณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไต้ฝุ่น (นีน่า), น้ำท่วม
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 242,000

อันดับที่ 13ปีที่เกิด : 1920
สถานที่ : เขตการปกครองตนเองหนิงเซียหุย สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 200,000-240,000
อันดับที่ 14
ปีที่เกิด : 1138
สถานที่ : เมืองอเลปโป ซีเรีย
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 230,000

อันดับที่ 15ปีที่เกิด : 1927
สถานที่ : เมืองซีหนิง มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 200,000

อันดับที่ 16
ปีที่เกิด : 1856
สถานที่ : เมืองดามกาน อิหร่าน
ประเภท ภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 200,000

อันดับที่ 17
ปีที่เกิด : 1876
สถานที่ : อ่าวเบงกอล
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไซโคลน
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 200,000

อันดับที่ 18
ปีที่เกิด : 1893
สถานที่ : เมืองอาร์ดาบิล อิหร่าน
ประเภทภัยธรรมชาติ : แผ่นดินไหว 
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 150,000

อันดับที่ 19
ปีที่เกิด : 2008
สถานที่ : พม่า
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไซโคลน (นาร์กีส)
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 146,000

อันดับที่ 20
ปีที่เกิด : 1991
สถานที่ : บังกลาเทศ
ประเภทภัยธรรมชาติ : พายุไซโคลน
จำนวนผู้เสียชีวิตโดยประมาณ : 138,000

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ถ้าเราร่วมมือกันสิ่งเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น




ช่วยๆกันนะครับ

ภาพหายนะที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เราต้องเตรียมตัวรับมือก่อนจะสาย


อย่างเหตุการณืที่น่าสะพรึงกลัวในการเกิดสึนามิที่ญี่ปุ่นนะครับ ตอนนี้เรามีเวลาที่จะช่วยโลกได้ ก็ขอให้ช่วยกันนะครับ













ถ้าคุณไม่อยากให้เหตุการณืแบบนี้เกิดขึ้น เราก็ต้องมาร่วมมือกันนะครับ 



ภัยธรรมชาติ



ภัยธรรมชาติ นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท
วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง แบ่งได้ ชนิด

1.1 วาตภัยจากพายุฤดูร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหาย ได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ ความเร็วลมประมาณ 50 กม./ชม. ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้


1.2 วาตภัยจากพายุฤดูหมุนเขตร้อน จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน เป็นพายุที่เกิดขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตร้อน มีศูนย์กลางประมาณ 200 กม. มีลมพัดเวียนรอบศูนย์กลางทิศทวนเข็มนาฬิกา ศูนย์กลางเป็นวงกลมประมาณ 15-60 กม. เรียกตาพายุ มองเห็นได้จากภาพเมฆดาวเทียม เมื่อเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามทำความเสียหายให้บริเวณที่เคลื่อนผ่าน ตามลำดับความรุนแรง
อุทกภัย ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร





ทุกขภิกขภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล มีสาเหตุจาก พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านประเทศไทยน้อย ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังอ่อน มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังอ่อน เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน หรือเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญรุนแรง ทำให้ฝนน้อยกว่าปกติ ทำให้ผลผลิตการเกษตรเสียหาย ขาดน้ำ เหี่ยวเฉา แห้งตายในที่สุด โรคพืชระบาด คุณภาพด้อยลง อุตสาหกรรมเกษตรเสียหาย ขาดแคลนอุปโภค บริโภค กระทบกับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ




พายุฝนฟ้าคะนอง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน


คลื่นพายุซัดฝั่ง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ความสูงของคลื่นขึ้นกับความแรงของพายุ




แผ่นดินถล่ม การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน






ไฟป่า ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่จัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง